วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567

ภาวะซึมเศร้า ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์...

ภาวะซึมเศร้า ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์...


อาการซึมเศร้าหลังคลอด

หลายคนมักสับสนระหว่างอาการเศร้า ๆ ของผู้หญิงหลังคลอด (Baby blue) ซึ่งเกิดขึ้นกับหญิงไทยร้อยละ 85 กับโรคซึมเศร้าหลังคลอด อาการเศร้าเล็กน้อยของผู้หญิงหลังคลอดมักจะทำให้ผู้หญิงรู้สึกไม่มีความสุข 
ร้องไห้บ่อย เหนื่อยล้าและเครียดในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด ว่ากันว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หากได้รับคำแนะนำและการดูแลที่ถูกต้อง อาการเศร้าหลังคลอดก็จะหายไปในเวลาไม่กี่วัน 
ในขณะที่โรคซึมเศร้าหลังคลอดจะไม่หายหากไม่ได้รับการรักษา อาการที่รุนแรงที่สุดของโรคซึมเศร้าหลังคลอดคือการอยากฆ่าตัวตาย ซึ่งตามสถิติปี 2554 เกิดขึ้น 6 คนจากจำนวนแสนประชากร

สัญญาณของโรคซึมเศร้าหลังคลอด

ผู้หญิงหลังคลอดแต่ละคนก็จะมีอาการและสัญญาณของโรคที่ต่างกันออกไป แต่จะครอบคลุมอาการต่อไปนี้

• รู้สึกสิ้นหวัง
• รู้สึกผิด
• เหนื่อยล้า
• ไม่มีความสุข
• รู้สึกโดดเดี่ยว
• รู้สึกวิตกกังวล
• รู้สึกสิ้นหวังหาทางออกไม่ได้
โดยปกติแล้วแม่ทุกคนจะมีอาการแบบนี้บ้าง แต่จะหายไปได้เอง แต่ถ้าหากไม่ดีขึ้นก็เข้าข่ายว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดแล้วล่ะค่ะ โดยปกติแล้วผู้หญิงมักจะเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 4-6 อาทิตย์ หรือไม่ก็หลังจากลูกอายุหลายเดือนแล้ว คุณอาจจะรู้สึกดีที่ได้ดูแลลูก แต่ก็ไม่วายพบว่าเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด หากว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์ เวลาคลอดลูกแล้วก็จะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น

สาเหตุของโรคซึมเศร้าหลังคลอด

เรายังไม่ทราบสาเหตุของโรคซึมเศร้าหลังคลอดที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากการสั่งการของสมองและการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกาย บางกรณีอาจจะเกิดจากปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่คุณอาจจะรับมือไม่ไหวก็เป็นได้ เช่น
• คุณอาจจะเคยเป็นโรคซึมเศร้า มีปัญหาทางจิต หรืออาจจะเป็นโรคซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์
• ต้องเลี้ยงลูกตามลำพังโดยสามีและครอบครัวไม่ให้ความช่วยเหลือเท่าที่ควร
• มีปัญหาด้านการเงิน บ้าน งาน หรือความสัมพันธ์ของคุณและสามี
• ปัญหาช่วงคลอดลูกและสุขภาพหลังคลอด
• ลูกคลอดก่อนกำหนดและไม่แข็งแรง
• เครียดเรื่องน้ำนมไม่ไหล

วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอด

คุณสามารถพูดคุยเพื่อระบายความในใจให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวฟัง แต่หลาย ๆ คนอาจจะไม่เข้าใจว่าคุณกำลังเผชิญปัญหากับโรคซึมเศร้าเพราะคนไทยมักจะไม่ค่อยรู้จักโรคนี้มากนัก แต่โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้นควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมการรักษาที่ถูกต้อง

คุณสามารถดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงโรคซึมเศร้าได้ดังนี้

พักผ่อนเยอะ ๆ พยายามนอนพร้อมกับลูก เวลาลูกตื่นคุณจะได้ไม่เหนื่อยและหงุดหงิด หรือ หากมีคนคอยช่วยดูแลลูกก็พยายามพักผ่อน ดื่มนมอุ่น ๆ ฟังเพลงผ่อนคลายและนอนหลับ
ทานอาหารมีประโยชน์ ร่างกายของคุณต้องการอาหารที่มีประโยชน์เพื่อรองรับการปรับตัวของร่างกายในการให้นมลูก พยายามอย่าปล่อยให้ตัวเองหิวและขาดอาหารนานนัก เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในร่างกายตก การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เหนื่อย หรือโทรมออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณอยากทำ แต่จริง ๆ แล้วการออกกำลังกายช่วยทำให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงสดใส ค่อย ๆ ออกกำลังกายเบา ๆ อย่างเดินเล่นกับลูกในสวนเล่นโยคะ หรือพิลาเตส เพื่อผ่อนคลาย คุณอาจจะมองหาคลาสออกกำลังกายสำหรับแม่และเด็กที่สามารถให้คุณออกกำลังกายได้พร้อมกับดูแลลูกอยู่ใกล้ ๆ ในกรณีที่คุณไม่สามารถหาคนช่วยดูแลลูกได้ ลองออกไปพบปะกับคุณแม่คนอื่นดู สำหรับเมืองไทยยังไม่มีการรวมกลุ่มของแม่และลูกที่เกิดในช่วงเดียวกันเหมือนต่างประเทศ แต่คุณสามารถตั้งกลุ่มขึ้นมาเองได้จากการสังเกต และการผูกมิตรกับแม่ที่คลอดในช่วงเวลาใกล้เคียงกับคุณที่โรงพยาบาลเพื่อถามไถ่แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน คุณจะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนอยู่ตัวคนเดียว คอยดูแลและเอาใจใส่ตัวเอง คุณควรดูแลตัวเองให้ดีเพื่อจะได้ดูแลลูกได้อย่างเต็มที่ งานบางอย่างไม่จำเป็นต้องทำก็ปล่อยไปบ้าง ปัญหาใหญ่บางอย่างยังหาทางแก้ไม่ได้ก็พักไว้ก่อน อย่าทำให้ตัวเองเครียดเกินไป คุณควรประเมินว่าพอมีอะไรบ้างที่คุณทำได้อะไรที่ทำไม่ได้ ที่สำคัญอย่าลืมดูแลตัวเองด้วยนะคะ คนรอบข้างสามารถช่วยได้อย่างไรบ้าง โรคซึมเศร้าหลังคลอดเป็นโรคที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ดังนั้นคุณจะควรให้ข้อมูลเรื่องโรคซึมเศร้าหลังคลอดแก่คนรอบข้าง และเล่าให้ฟังว่าตอนนี้คุณกำลังเผชิญกับปัญหาอะไรบ้าง เมื่อคนรอบข้างคุณเข้าใจเขาก็พร้อมที่จะช่วยเหลือคุณ เช่น การดูแลลูกเพื่อให้คุณมีเวลาพักผ่อน และใช้เวลาร่วมกับสามี สามีอาจช่วยแบ่งเบาภาระในบ้าน เช่น ทำความสะอาด ดูแลลูกให้คุณได้พักผ่อน การช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายได้มากทีเดียว

ไม่อยากเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดควรทำอย่างไร

คุณควรดูแลตัวเองตั้งแต่ตั้งครรภ์ พยายามลดระดับความเครียดลง และยินดีให้คนรอบข้างช่วยแบ่งเบาภาระ เมื่อคุณรู้สึกว่ามีคนรอบข้างคอยดูแลและให้ความช่วยเหลือ เวลาที่คุณมีลูกคุณก็จะมั่นใจว่ามีคนรอบข้างที่คอยอยู่เคียงข้างคุณ แต่ถ้าหากคุณรู้สึกวิตกกังวล หรือรู้สึกว่าตัวเองกำลังแย่ก็ควรปรึกษาคุณหมอนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น