วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ไวรัสตับอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)


ตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีอาการอักเสบ เกิดการทำลายของเซลล์ตับทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติร่างกายมีการเจ็บป่วยไม่สบาย

สาเหตุของโรคตับอักเสบ ที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส รองลงมาเกิดจากพิษสุรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว เลปโตสไปโรซิส  พยาธิ ยาบางชนิด สารเคมี ฯลฯ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับเรียกว่า ไวรัสตับอักเสบ ได้แก่ ไวรัส ตับอักเสบ เอ บี ซี ดี อี ในที่นี้จะกล่าวถึงไวรัสตับอักเสบชนิดเอและบี ซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด

ไวรัสตับอักเสบเอ : Hepatitis A

สาเหตุ เกิดจากการได้รับเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น อาหาร ผักสด ผลไม้ น้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ หรืออาหารทะเลดิบ ๆ สุก ๆ ซึ่งเชื้อนี้จะออกมากับอุจจาระ ของผู้ป่วยตั้งแต่ในระยะ 2 สัปดาห์ ก่อนมีอาการจนถึงระยะที่มีอาหารของโรค เชื้อไวรัสนี้จะคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน บางครั้งจึงพบว่ามีการระบาดในชุมชน กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน เช่น โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร


อาการ ในเด็กหากได้รับเชื้อมักไม่มีอาการ แต่ในผู้ใหญ่มักมีอาการของตับอักเสบ โรคนี้ถ้าเป็นแล้วจะหายขาดไม่มีโรคเรื้อรับและไม่ทำให้เกิดตับแข็ง


ไวรัสตับอักเสบบี : Hepatitis B

สาเหตุ  พบว่าคนเป็นพาหะที่สำคัญของเชื้อไวรัสนี้ทางเข้าของเชื้อ ได้แก่

           1.ได้รับเลือด น้ำเลือด ของผู้ที่มีเชื้อนี้  อาจเกิดจากการใช้ของมีคม ของใช้ที่เปื้อนเลือดร่วมกับผู้ติดเชื้อ  เช่น ใบมีดโกน แปรงสีฟัน การเจาะหูที่ไม่สะอาด เชื้อสามารถเข้าทางผิดหนัวที่ถลอกมีบาดแผล

            2.ทางเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อนี้ พบเชื้อไวรัสอักเสบบีได้ในน้ำอสุจิ น้ำช่องคลอด เมื่อคู่สมรส มีเชื้ออีกฝ่ายหนึ่ง ต้องตรวจเลือดว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ

            3.ทารกที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจติดเชื้อได้ระหว่างคลอดการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดปัจจุบันแพทย์จะฉีดวัคซีนให้ทารกแรกคลอดทันทีร่วมกับการให้ภูมิคุ้มกันโรค

            4.ทางสัมผัสใกล้ชิด ระหว่างผู้มีเชื้อนี้กับผู้อื่น เช่น สมาชิกในครอบครัว เด็กในวัยเรียน

อาการ กรณีตับอักเสบเฉียบพลัน อาจมีการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ จุกใต้ชายโครงจากตับโต ตามมาด้วปัสสาวะเหลืองและตาเหลือง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 2 - 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติตามด้วยเกิดภูมิต้านทานป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังมักไม่มีอาการอะไร สามารถทำงานได้ตามปกติ

การรักษาไวรัสตับอักเสบบี

             ยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการได้แก่  การพักผ่อนให้เพียงพอ งดการออกแรง ออกกำลังกาย การทำงานหนัก งดการดื่มสุรา ควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย น้ำหวาน น้ำผลไม้ ควรหลีกเหลี่ยงอาการไขมันสูง ในระยะที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากและควรตรวจเช็คเลือด เป็นระยะ ๆ ถ้าพบปัญหาความผิดปกติของตับร่วมด้วย เช่น ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็ง เป็นต้น  ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
ล้างมือให้สะอาดก่อนหลังทำสิ่งใด ๆ หลังการขับถ่ายการประกอบอาหารให้ถูกหลักอนามัย เลือกรับประทานอาหารที่สุก ดื่มน้ำที่สะอาด
หลีกเลี่ยงการรับ การสัมผัสเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้อื่น ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
ไม่สำส่อนทางเพศ ควรใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

            4.1 ทารกแรกคลอดทุกราย โดยเฉพาะถ้ามารดาเป็นพาหะของเชื้อ
            4.2 เด็กทั่วไปเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เด็กโต วัยรุ่น ผู้ใหญ่อาจเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมา
                  แล้ว ให้ตรวจเลือดก่อนพิจารณาฉีดวัคซีน ดังนี้
ถ้ามีผลตรวจ HbsAg, HbsAb เป็น ลบ ทั้งหมดควรฉีดวัคซีนป้องกันให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
ถ้ามีผลตรวจเป็น บวก ตัวใดตัวหนึ่งไม่ต้องรับการฉีดวัคซีน
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคตับอักเสบ
1.หลีกเหลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำงานที่หักโหมในช่วงที่มีตับอักเสบ แต่การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ในตับอักเสบเรื้อรังสามารถทำได้
2.งดการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ เพราะจะทำให้ตับเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น
3.รับประทานอาหารได้ตามปกติ โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และควรรับประทานอาหารใหเป็น เวลาไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำหวานมาก ๆ เพราะอาจทำให้เกิดไขมันสะสมที่ตับเพิ่มขั้นและทำให้ตับโต
4.งดสูบบุหรี่ ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะไม่มีผลโดยตรงกับโรคตับ แต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดมะเร็งในหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย จึงควรงดสูบบุหรี่เพื่อทำให้สุขภาพแข็งแรง
5.ทำจิตใจให้สบาย พยายามลดความเครียด หรือความวิตกกังวล
6.หมั่นรักษาสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง พักผ่อนตามสมควร ไม่นอนดึกและไม่อดนอน
7.ไม่ซื้อยากินเอง เพราะยาหลายชนิดเป็นพิษต่อตับก่อนซื้อยาทุกครั้งต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกร    ทราบว่าตนเองเป็นพาหะหรือเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
ข้อมูลจาก
ชมรมตับแห่งประเทศไทย
ศาสตราจารย์แพทย์หญิง ชุติมา ประมูลสินทรัพย์ หน่วยโรคทางเิดินอาหาร และ เวชาศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น