ประวัติโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนนครปฐม

     ในปี 1906 The chruches of Christ Mission แห่งประเทศอังกฤษ ได้ส่งมิชชั่นนารี 2 ท่าน คือ หมอและแหม่มเปอร์ซี่ คลาร์ค มาตั้งสถานที่ทำการใน จ.นครปฐม แหม่มคลาร์คเป็นนางผดุงครรภ์ที่เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ ทั้งคู่ตั้งใจที่จะอุทิศชีวิตเพื่อช่วยเหลือประชาชนในประเทศไทย ด้วยการเผยแพร่ประวัติคำสั่งสอนของพระคริสต์ให้ความรู้และการบำบัดรักษา


หมอและแหม่ม เปอร์ซี่ คลาร์ค

    เมื่อมาถึงใหม่ๆนั้น จังหวัดนครปฐมและตำบลใกล้เคียงยังไม่มีโรงพยาบาล หรือคลีนิคส่วนตัวเลย ท่านทั้งสองคิดว่างานมิชชั่นนารีต้องทำเร่งด่วนที่สุดเลยคือการสร้างสถานที่บำบัดรักษาคนไข้  ครั้งแรกท่านได้เช่าสถานที่ในตลาดเพื่อพักอาศัยและได้เปิดเป็นคลีนิครักษาโรคในเวลาเดียวกันด้วย ในไม่ช้าก็มีคนไข้มารักษาอย่างมากมาย จนกระทั่งคลีนิคในตลาดไม่สามารถจะรับได้
     ดังนั้น ในปี 1909 หมอและแหม่ม เปอร์ซี่ คลาร์ค จึงย้ายไปยังสถานที่ใหม่นอกตลาด ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนนครปฐมในปัจจุบัน สถานที่แห่งใหม่นี้เป็นอาคารชั้นเดียวมี 4 ห้อง ด้านหลังห้องจ่ายยา ต่อจากนั้นอีก 2-3 ปี ก็ได้สร้างอาคารสูติกรรมขึ้นทางด้านหน้าห้องจ่ายยา เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวประกอบด้วยห้องคลอด ห้องไข้ 2 ห้อง และห้องพักสำหรับรอคลอด
 
อาคารหลังแรก
อาคารรักษาผู้ป่วยนอกหลังแรก

     ในสมัยนั้นชาวนครปฐม  ยังไม่ค่อยศรัทธาในยาสมัยใหม่เท่าไรนัก ยังเชื่อเรื่องของโชคลาง เชื่อเรื่องผีสางกันอย่างกว้างขวาง ยังมีความเชื่อทางยาไทย ยาจีนโบราณอย่างมั่นคง นอกจากพวกที่ป่วยหนักมากๆหรือป่วยเรื้อรังมานานต้องการแสวงหายาใหม่ๆมารักษา ซึ่งหนทางสุดท้ายของชีวิตแล้ว จึงได้มาหาท่านทั้งสอง ส่วนมากพวกคนไข้จะมาในสถานการณ์เช่นนี้ หมอและแหม่ม คลาร์ค ก็ต้องลงทุนจ้างผู้ป่วยให้มารับการรักษาจากโรงพยาบาลคริสเตียน โดยพวกเขาจะได้รับค่าเดินทาง ได้รับค่าอาหารและค่ารักษาฟรี หมอและแหม่ม คลาร์คมักจะรับรักษาคนไข้ในบ้านของตนเอง ส่วนการทำคลอดมักจะไปทำที่บ้านของคนไข้ ดังนั้นท่านทั้ง 2 จึงต้องเดินทางตลอดเวลา
     ด้วยน้ำใจความรักและความเสียสละที่ได้แสดงออกในการให้บริการรักษาคนไข้ จึงทำให้ท่านทั้ง2ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนเป็นอันมาก คนไข้คนแล้วคนเล่าได้มารับการรักษา ครั้งหนึ่งพวกเขาได้สร้างกระท่อมหลังคาจาก ให้เป็นอาคารชั่วคราวสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง ในตอนแรกๆยังไม่มีนางพยาบาลหรือนางผดุงครรภ์เลย หมอและแหม่ม คลาร์ค ต้องฝึกหัดพยาบาล นางผดุงครรภ์และผู้ช่วยจ่ายยาขึ้นมา เพื่อช่วยทำงาน เช่น แม่ชู แม่ใหญ่ แม่ล้วน และแม่สวิง เป็นต้น
 
ห้องคลอดหลังแรก

     พยาบาลและผดุงครรภ์เหล่านี้ได้ให้บริการและความช่วยเหลืออย่างดียิ่งแก่บรรดาผู้ป่วย ซึ่งหมอและแหม่ม คลาร์คคอยเป็นผู้ให้คำแนะนำและอำนวยการ
     ในปี 1937 เมื่อหมอและแหม่ม คลาร์ค เตรียมการที่จะปลดเกษียนตัวเอง ท่านได้เชิญ นพ. เอช.ที.เซ็น และ นพ.ซู ไยยู จากซัวเถา ประเทศจีนมาทำหน้าที่แทนในโรงพยาบาลคริสเตียนนครปฐม ท่านทั้ง 2 พร้อมครอบครัวเดินทางมาถึงนครปฐมในเดือนธันวาคม 1937 หมอและแหม่มคลาร์ค จึงได้มอบการบริหารงานให้แก่นายแพทย์ เช็น และนายแพทย์ ซู ในเดือนมกราคม 1938
    หกเดือนต่อมาได้จึงได้สร้างตึกชั้นเดียวรูปตัวแอล(L)ขึ้น ด้านหน้าของตึกใหม่ใช้เป็นห้อง O.P.D. ห้องผ่าตัด สำนักงานและห้องทดลอง ห้องที่เหลือใช้เป็นห้องคนไข้ ในส่วนอาคารสูติกรรมเก่าได้ใช้เป็นที่อยู่ของพยาบาล 
 
อาคารผู้ป่วยในปี 1937

    ปี 1941 สงครามโลกครั้งที่2 ได้อุบัติขึ้นทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทหารญี่ปุ่นได้ทำการรบผ่านประเทศไทยในเดือนธันวาคมของปีนี้ โรงพยาบาลคริสเตียนนครปฐมได้ถูกยึดเป็นสมบัติของกองทัพญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลคริสเตียนนครปฐมเป็นของนิกายสอนศาสนาแห่งประเทศอังกฤษ หมอและแหม่มคลาร์คจึงถูกกักตัวไว้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯร่วมกับชาวอังกฤษและอเมริกันอื่นๆที่ผิดหวังที่จะอพยพออกจากประเทศไทย ก่อนที่จะถูกญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในไทย
    เมื่อสงครามสงบลงในปี 1945 หมอและแหม่ม คลาร์ค ได้รับการปล่อยตัวและกลับมาที่นครปฐม
โรงพยาบาลคริสเตียนนครปฐมจึงได้เป็นของท่านอีกครั้งหนึ่ง ในปี1945 ท่านจึงได้ขอร้อง นพ.เซ็น กลับมารับภาระหน้าที่ของโรงพยาบาลแห่งนี้ต่อไปอีก ในปี 1948 นายแพทย์เช็น มีงานผ่าตัดหนักมากต้องการผู้ช่วย หมอและแหม่มคลาร์คจึงได้เชิญนายแพทย์เช็น เช็ก ลิ้ม จากซัวเถามาช่วยรับผิดชอบและบริหารงานโรงพยาบาล นายแพทย์เช็น เช็ก ลิ้ม และครอบครัว เดินทางมาถึงนครปฐมในเดือนมกราคมปี 1948  เมื่ออาคารสูติกรรมเก่าถูกใช้เป็นที่อยู่ของพยาบาล และมีการคลอดบุตรเพิ่มมากขึ้น จึงได้สร้างอาคารสูติกรรมใหม่ขึ้นมาอีกในปี 1949 เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ประกอบด้วยห้องคลอดใหม่มีห้องผู้ป่วย 6 ห้อง แหม่มเป็นผู้บริจาคเงินสร้างโดยให้ชื่อว่าอาคารเดนเล่ย์ เมโมเรียลเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่มิสเตอร์เดนเล่ย์ บิดาของแหม่มคลาร์ค
    เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มมากขึ้นจนตึกรูปตัวแอลไม่สามารถจะรับผู้ป่วยได้ทั้งหมด(ซึ่งตามกฎให้รับผู้ป่วย 25 คนต่อแพทย์ 2 ท่าน) ทางโรงพยาบาลจึงวางแผนที่จะสร้างตึก 2 ชั้น 25 เตียงขึ้น ได้ก่อสร้างในปี 1959 ทางด้านทิศใต้ของโรงพยาบาลตามแผนที่วางไว้ อาคารรูปตัวแอลจึงถูกเปลี่ยนแปลงเป็นแผนก O.P.D. ห้องเอ็กซ์-เรย์ ห้องทดลอง ห้องจ่ายยาและห้องพัสดุ
 
อาคารผู้ป่วยในปี 1959

    ในเดือนธันวาคม 1973 นายแพทย์ เอช.ที.เช็น  ผู้ซึ่งได้ทำหน้าที่ในโรงพยาบาลคริสเตียนนครปฐมมาตั้งแต่ปี 1938 ได้หยุดไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ระยะหนึ่ง ก็ได้ตกลงใจเกษียนอายุตัวเองในวัย 70 ปีนายแพทย์เช็น เช็ก ลิ้ม ซึ่งอายุ 58 ปี ก็เกษียนตามด้วย The United Missionary Society Of the Disciples Mission ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับมอบอำนาจเกี่ยวกับกิจการทางศาสนคริสต์ในอังกฤษ จึงได้ส่งมอบโรงพยาบาลคริสเตียนนครปฐมให้แก่สภาคริสตจักรในประเทศไทย
    โรงพยาบาลคริสเตียนนครปฐมจึงกลายเป็นโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่อยู่ในความอุปถัมภ์และการควบคุมของกองการแพทย์มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย