วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

พหุปัญญา 8 ด้าน พัฒนาการกับภาวะโภชนาการในช่วงแรกของชีวิต



พหุปัญญา 8 ด้าน พัฒนาการกับภาวะโภชนาการในช่วงแรกของชีวิต


     “ทฤษฎีพหุปัญญายังช่วยเปิดประตูไปสู่แนวทางการเรียนรู้ที่หลากหลายถึง  8 แนวทาง ซึ่งแนวทางเหล่านี้สามารถนำไปผสมผสานและประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะนิสัยและความถนัดของเด็กๆ ได้”


พหุปัญญา 8 ด้านคืออะไร?

ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นผู้เสนอ “ทฤษฎีพหุปัญญา” ซึ่งมีแนวคิดว่าความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 8 ด้าน ประกอบด้วย ความฉลาดด้านภาษา ความฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ ความฉลาดด้านดนตรี ความฉลาดด้านร่างกาย ความฉลาด ดานมิติสัมพันธ์ ความฉลาดด้านมนุษยสัมพันธ์ ความฉลาดด้านเข้าใจตนเอง ความฉลาดด้าน รู้จักธรรมชาติ ซึ่งแต่ละด้านต่างก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
พ่อแม่และครูควรค้นหาจุดเด่นของเด็ก ว่ามีความฉลาดทางด้านใดบ้าง แทนการยึดถือตามความเชื่อเดิมๆ ที่นิยามว่า “เด็กเก่ง”         คือ เด็กที่มีความฉลาดเพียงบางด้าน เช่น ด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา โดยต้องทำความเข้าใจและอดทนที่จะสอนเด็กให้เหมาะกับวิธีการเรียนรู้ของเขา ถึงแม้ว่าอาจไมใช่เรื่องง่าย

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

กิจกรรมค่ายครอบครัว "ชีวิตคู่ คู่ชีวิต" โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนนครปฐม

จบไปแล้วนะครับกับ กิจกรรมค่ายครอบครัว "ชีวิตคู่ คู่ชีวิต" โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนนครปฐม
ระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน ค.ศ.2016 กับรอยยิ้มและความรู้ เรื่อง "ชีวิตคู่"
อันนี้เป็นภาพกิจกรรมนะครับ   ใครเป็นใครดูกันเอาเองนะครับ รอยยิ้มเต็มใบหน้าทุกคนเลย

                                           รวมภาพกิจกรรมค่ายครอบครัว





วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

ไวรัสซิกา

ไวรัสซิกา











          ไวรัสซิกา หรือ ไข้ซิกา เป็นอีกหนึ่งโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ แม้จะยังไร้วัคซีนป้องกัน แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายใน 7 วัน ที่ต้องระวังคือเด็กทารกที่หากติดเชื้อแล้วอาจทำให้มีศีรษะเล็กกว่าปกติ

          ถ้าว่ากันถึงภัยจากยุงลายที่เรารู้จักกันดีอย่างไข้เลือดออกแล้ว ยังมีอีกโรคหนึ่งชื่อ "ไวรัสซิกา" ที่เราควรรู้จักไว้ เพราะในช่วงปี 2558 โรคนี้ได้ระบาดหนักในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่การระบาดรุนแรงจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสถานการณ์ยังรุนแรงไม่หยุด ทำให้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ 

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของการดื่มน้ำอุ่นเป็นประจำ

ประโยชน์ของการดื่มน้ำอุ่นเป็นประจำ





1. ช่วยดีท็อกซ์ร่างกาย
          น้ำอุ่นช่วยดีท็อกซ์ของเสียออกจากร่างกายที่ไหลเวียนอยู่ตามอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่น ปอด ตับ ไต และลำไส้ โดยที่น้ำอุ่นจะช่วยขับถ่ายของเสียเหล่านั้นออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ ขี้มูก ขี้ตา และเหงื่อไคล เป็นต้น ร่างกายของเราก็จะสะอาดจากภายใน ซึ่งเราสามารถเช็กได้ง่าย ๆ ก็คือ การที่ร่างกายไม่มีกลิ่นตัวตามข้อพับ ไม่มีกลิ่นปาก มีแววตาสดใส เป็นต้น
2. ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
          ใครที่เป็นคนธาตุหนัก ท้องผูก ขับถ่ายยาก ขอแนะนำว่าในตอนเช้าหลังตื่นนอน อย่าเพิ่งล้างหน้าแปรงฟัน ให้ดื่มน้ำอุ่น 1แก้ว แล้วนวดวนตามเข็มนาฬิกาเบา ๆ ที่บริเวณท้อง รับรองว่าไม่นานก็จะรู้สึกปวดท้องอยากเข้าห้องน้ำแน่นอน เพราะการดื่มน้ำอุ่นเป็นแก้วแรกของวันในขณะที่ท้องกำลังว่างอยู่เป็นการลดแก๊สในกระเพาะอาหาร และยังช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายของเราให้ทำงานเป็นปกติอีกด้วย

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ




- ชื่อภาษาไทย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ชื่อภาษาอังกฤษ Meningitis

สาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่
1.เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ เช่น 
- เชื้อวัณโรค (ทีบี) มักพบในผู้ป่วยเอดส์
- เชื้อเมนิงโกค็อกคัส (meningococcus) ซึ่งเป็นสาเหตุของเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่มีชื่อเรียกว่า “ไข้กาฬหลังแอ่น”
2.เชื้อไวรัส
3.เชื้อรา เช่น เชื้อราคริปโตค็อกคัส (crypto-coccus) ซึ่งพบบ่อยในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยเอดส์
4.พยาธิ ที่พบบ่อยในบ้านเรา ก็คือ พยาธิแองจิโอสตรองไจลัส (angiostrongylus cantonensis) ซึ่งอยู่ในหอยโข่ง พบมากทางภาคกลางและภาคอีสาน

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus)

โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus)



โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus) เกิดจากตับอ่อนสร้าง “ฮอร์โมนอินซูลิน” (Insulin) ได้น้อย หรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมากๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวานหรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่า “เบาหวาน” นั่นเอง
        ทั้งนี้ โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด และเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ นอกจากพันธุกรรมแล้ว สิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดเบาหวานด้วย เช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวานมากๆ จนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย เป็นต้น

ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิ์เป็น

ช็อกโกแลตซีสต์ เกิดได้อย่างไร




 ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ในทางการแพทย์เรียกว่า “เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่” (Endometriosis) 
เกิดจากเลือดประจำเดือนที่ปกติต้องไหลออกมาทางช่องคลอด แต่กลับไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้องผ่านท่อรังไข่ และนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกเข้าไปด้วย เมื่อเซลล์นี้ไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนก็จะเกิดถุงน้ำขึ้นที่อวัยวะนั้น เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ ช่องคลอด มดลูก ฯลฯ
บริเวณที่พบช็อกโกแล็ตซีสต์ได้บ่อยคือรังไข่ เนื่องจากบริเวณรังไข่เป็นบริเวณที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง จึงเหมาะแก่การเจริญเติบโต แต่ถ้าเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูกจะไม่กลายเป็นซีสต์ ทว่าจะกลายเป็นพังผืดหรือก้อนในกล้ามเนื้อมดลูกแทน เพราะกล้ามเนื้อมดลูกค่อนข้างแข็ง และเราเรียกภาวะนี้ว่า “Adenomyosis” ซึ่งผลที่ตามมาคือภาวะปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ประจำเดือนมามาก และมีบุตรยาก
ทั้งนี้ เมื่อเวลาที่ผู้หญิงมีประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวออกมา ถุงน้ำที่ฝังตัวอยู่ก็จะมีเลือดออกด้วย แต่เมื่อเลือดประจำเดือนออกหมดแล้วในเดือนนั้น ร่างกายก็จะดูดน้ำจากถุงกลับมา ทำให้เลือดในถุงเข้มข้นขึ้น หากเลือดค้างอยู่ในถุงน้ำนาน ๆ จะกลายเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเหมือนช็อกโกแลต จึงเรียกว่า “ถุงน้ำช็อกโกแลต”หรือ “ช็อกโกแลตซีสต์” นั่นเอง 
นั่นหมายความว่า แต่ละเดือนที่ผ่านไป ถุงน้ำก็จะยิ่งมีเลือดออกเพิ่มขึ้น และขยายใหญ่ขึ้น แต่จะใหญ่เร็วมากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคนคนนั้นว่า จะดูดน้ำกลับได้เร็วเท่าไหร่ ถ้าร่างกายดูดน้ำกลับได้เร็ว ถุงน้ำนั้นก็จะโตขึ้นแบบช้า ๆ

ลดเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ ด้วยการกินอาหาร

ลดเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ ด้วยการกินอาหาร




โรคอัลไซเมอร์ พูดถึงชื่อนี้หลายคนก็คงจะรู้จักกันดี ซึ่งโรคนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสมอง เนื่องจากเซลล์สมองถูกทำลายไปทำให้สูญเสียความทรงจำ นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นผู้สูงอายุอีกด้วย ถึงแม้ว่ามันจะยังดูไกลตัวเรา แต่ก็เป็นโรคที่ประมาทไม่ได้เพราะถ้าหากเป็นแล้วก็ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติได้เช่นกัน ดังนั้นการระมัดระวังและอยู่ให้ห่างไกลความเสี่ยงก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราควรจะทำ ซึ่งวิธีหนึ่งที่สามารถดึงเราออกจากความเสี่ยงโรคนี้ได้ก็คือการรับประทานอาหาร แต่อาหารชนิดใดบ้างที่จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับอาหารลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์มาฝากกันจากเว็บไซต์ huffingtonpost.comอยากมีสุขภาพสมองที่ดีห่างไกลอัลไซเมอร์ต้องรับประทานอาหารเหล่านี้บ่อย ๆ เลยนะคะ
 ถั่วเปลือกแข็ง 

วุ้นในลูกตาเสื่อม (Vitreous Degeneration)

วุ้นในลูกตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) โรคที่เป็นอันตรายของคนใช้คอมพิวเตอร์ ควรจะต้องอ่าน


โรควุ้นในตาเสื่อม
          ในปัจจุบัน การใช้ชีวิตประจำวันของคนทุกๆคน เดี๋ยวนี้เชื่อได้เลยว่าแทบจะไม่มีใครที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ บางคนต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เกือบทั้งวัน ก็เลยทำให้หนุ่มสาววัยทำงาน เริ่มเป็นกันมากขึ้น

  โรควุ้นในตาเสื่อมเป็นโรคที่มักจะเกิดกับผู้มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันกลับพบโรคนี้ในวัยหนุ่มสาวคนทำงานออฟฟิศกันมากขึ้นจนน่าตกใจ เรียกได้ว่าโรควุ้นในตาเสื่อมเป็นหนึ่งในโรค office syndrome โดยตอนนี้ในประเทศไทย มีคนเป็นโรคนี้ถึง 14 ล้านคนแล้ว จากข้อมูลทางหนังสือพิมพ์ 

โรคคาวาซากิ ภัยร้ายของเด็กเล็ก

โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease)



คุณพ่อคุณแม่อาจจะพอเคยได้ยินชื่อโรคคาวาาซากิกันมาบ้าง บาคนอาจจะไม่รู้จัก หรือเข้าใจว่าเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เพราะอาการของโรคจะแสดงออกชัดเจนที่ผิวหนัง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่คิดค่ะ 

โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) พบครั้งแรกโดยแพทย์ชาวญี่ปุ่นชื่อ Tomisaku Kawasaki เมื่อปี พ.ศ.2510 หลังจากนั้นก็มีรายงานว่าพบผู้ป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศ ญี่ปุ่น ตลอดจนประเทศอื่นๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยค่ะ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยที่ไตเริ่มเสื่อม

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยที่ไตเริ่มเสื่อม




           ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้น ว่าไตเริ่มทำหน้าที่น้อยลง เริ่มขจัดของเสียน้อยลง หากท่านทะนุถนอมไตของท่านไว้ ชีวิตก็จะยืนยาว ไม่ต้องเข้าไปสู่เรื่องของการล้างไต การฟอกเลือด และท้ายสุดก็คือการรอปลูกถ่ายไต

หลักการสำคัญในการชะลอการเสื่อมของไต ได้แก่
          1. ความดันโลหิต ควบคุมให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงปกติ คือ ระดับต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าความดันโลหิตสูงๆ ต่ำๆ ไม่คงที่ ส่งผลต่อไตอย่างมาก ทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ ที่สำคัญคืออย่าละเลย ไม่กินยาลดความดันโลหิตเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว  ซึ่งไม่ถูกต้องและมีผลเสียต่อไตเป็นอย่างมาก
          2. การควบคุมระดับน้ำตาล เฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวานและไตเริ่มเสื่อมจากเบาหวานควรต้องระวังระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติเพื่อป้องกันการทำลายไต รวมทั้งการทำลายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หัวใจ และตา

ไวรัสตับอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)


ตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีอาการอักเสบ เกิดการทำลายของเซลล์ตับทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติร่างกายมีการเจ็บป่วยไม่สบาย

สาเหตุของโรคตับอักเสบ ที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส รองลงมาเกิดจากพิษสุรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว เลปโตสไปโรซิส  พยาธิ ยาบางชนิด สารเคมี ฯลฯ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับเรียกว่า ไวรัสตับอักเสบ ได้แก่ ไวรัส ตับอักเสบ เอ บี ซี ดี อี ในที่นี้จะกล่าวถึงไวรัสตับอักเสบชนิดเอและบี ซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด

ไวรัสตับอักเสบเอ : Hepatitis A

สาเหตุ เกิดจากการได้รับเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น อาหาร ผักสด ผลไม้ น้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ หรืออาหารทะเลดิบ ๆ สุก ๆ ซึ่งเชื้อนี้จะออกมากับอุจจาระ ของผู้ป่วยตั้งแต่ในระยะ 2 สัปดาห์ ก่อนมีอาการจนถึงระยะที่มีอาหารของโรค เชื้อไวรัสนี้จะคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน บางครั้งจึงพบว่ามีการระบาดในชุมชน กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน เช่น โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่


เป็นโรคติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจ เกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะ
    ในเด็ก  โรคนี้มักมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดาและมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้มากกว่า
     สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอยู่ในน้ำมูกและเสมหะของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้าง
    เร็วกว่าไข้หวัดธรรมดา ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียอย่างฉับพลัน


รู้จักเข้าใจ พาลูกห่างไกล โรคมือเท้าปาก


โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก นอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณะสุขของ
ประเทศไทยแล้ว และยังก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออก
ในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
อุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออก
เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก
มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น
 endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา
เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ
เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific


วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

บรรยายให้ความรู้เรื่อง " อยู่อย่างไรให้ไกลโรคภัย " โดย...อายุรแพทย์ และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านไตเทียม

บรรยายให้ความรู้เรื่อง " อยู่อย่างไรให้ไกลโรคภัย " โดย...อายุรแพทย์ และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านไตเทียม ให้ความรู้แก่ลูกค้า และตัวแทน ณ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) สาขานครปฐม
                  

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

โครงการเสริมสร้างกลไก การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปี2559

ออกหน่วยโครงการ "เสริมสร้างกลไก การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2559" ร่วมกับ อบต.สนามจันทร์ ขอขอบคุณท่านปลัดฯ รองนายก ประธานชมรมผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ อบต.สนามจันทร์ทุกท่าน ที่ดูแลทีมวิทยากร และเจ้าหน้าที่รพ.กรุงเทพคริสเตียน นครปฐม ค่ะ โอกาสหน้าจัดโครงการดี ๆ มอบให้ประชาชน ทางรพ.ยินดีให้บริการติดต่อได้นะค่ะ        
                      




ผู้มารับฟังการบรรยาย